1. โครงสร้างอาคารภายนอก ควรออกแบบให้มีความหรูหราและทันสมัย ทั้งรูปแบบและโครงสร้างเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้ใช้บริการ รวมถึงสามารถรองรับผู้ใช้บริการได้ในจำนวนที่เหมาะสม ไม่มากจนแออัดเกินไป วัสดุที่นำมาสร้างควรเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ควรคำนึงถึงสภาพแวดล้อมรอบๆห้องสมุดว่ามีเสียงดังรบกวนผู้ใช้หรือไม่ด้วย
courtesy of Birmingham City Council |
Ballard Library, Seattle courtesy of Ballard Library |
2. โครงสร้างภายในอาคาร การออกแบบโครงสร้างภายในห้องสมุดควรมีการจัดแบ่งพื้นที่การให้บริการเป็นหมวดหมู่ เช่น โซนเด็ก เนื่องจากในปัจจุบันห้องสมุดไม่ได้มีแค่หนังสือ แต่ความทันสมัยของเทคโนโลยีทำให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายในห้องสมุด จึงควรมีการแบ่งหมวดหมู่หรือแบ่งโซนตามความเหมาะสม อีกทั้งยังควรคำนึงถึงจำนวนโต๊ะ เก้าอี้ ความสูงหรือความกว้างของชั้นหนังสือ การจัดเรียงหนังสือควรจัดให้ผู้ใช้สามารถค้นหาได้ง่ายและสะดวก และควรออกแบบต้องรองรับกับงานบริการผู้ใช้และการทำงานของบรรณารักษ์
Tk park |
New Birmingham Library - Internal Images |
3. บริการอำนวยความสะดวกต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นบริการถ่ายเอกสาร แสกนรูปภาพและเครื่องฟังซีดี ควรมีครบ เพื่อความสะดวกสบายของผู้ใช้บริการ
4. ความสว่าง ภายในห้องสมุดควรมีแสงสว่างเพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้ ไม่ทึบจนเกินไป
5. ป้ายสัญลักษณ์ ไม่ว่าจะเป็นป้ายเตือนหรือป้ายบอกที่อยู่ของหนังสือ ควรมีในทุกที่ เพื่อให้ผู้ใช้บริการทราบและสะดวกในการค้นหาทรัพยากรสารสนเทศ
6. เฟอร์นิเจอร์ ในแต่ละโซนควรมีความเหมาะสมและจัดให้เป็นระเบียบ เช่น โซนเด็ก ควรมีเฟอร์นิเจอร์ขนาดเล็กและมีสีสันสะดุดตา เพื่อดึงดูดให้ผู้ใช้เข้ามาใช้บริการ อีกทั้งในแต่ละมุมหรือแต่ละโซนควรมีเฟอร์นิเจอร์ที่นุ่ม มีขนาดเหมาะสมและสะดวกสบาย
7. Library Equipment เนื่องจากห้องสมุดในปัจจุบันมีความทันสมัย อุปกรณ์ภายในห้องสมุดจึงควรมีความทันสมัยในด้านเทคโนโลยีด้วย อีกทั้งควรมีจำนวนที่เหมาะสมและให้บริการผู้ใช้ได้อย่างทั่วถึง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น